
.
ยุคสมัยนี้ที่เป็นโลกยุคโลกาภิวัตน์(Globalization) เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากพลังขับเคลื่อนของเทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT) ในกับเทคโนโลยีการสื่อสาร (ICT) กับการผสมผสานของสื่อสารมวลชนในลักษณะใหม่ๆ ทำให้ในปัจจุบัน ทำให้โลกยุคปัจจุบัน อินเทอร์เน็ต(Internet) และสื่ออย่างใหม่(New Media) ได้มีอิทธิพล(Influence) ต่อการติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นอย่างมาก การพัฒนาขึ้นของระบบคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม ในสภาพปัจจุบัน ทำให้ระบบสารสนเทศและสื่อสารมวลชนไม่เพียงเป็นเรื่องของการประมวลผล และการรับส่งข้อมูลและความรู้แบบเดิมๆเท่านั้น หากได้มีการผสมผสานทางเทคโนโลยีจนเกิดเป็นโลกเสมือน (Virtual World) ขึ้นมา ในโลกเสมือนดังกล่าวนี้ ประกอบไปด้วยองค์กรเสมือน เครือข่ายเสมือน การพาณิชย์ในโลกเสมือน เป็นต้น และในโลกเสมือนดังกล่าวเราสามารถเห็นได้ว่ามนุษย์สามารถประกอบกิจกรรม ธุรกรรม หลายๆอย่างได้เหมือนในโลกจริงๆในโลกเสมือนนี้ อินเตอร์เน็ท (Internet) เปรียบเสมือน “ของขวัญแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ” ที่สวรรค์ประทานมาให้กับมนุษย์ และเพียงแค่มนุษย์ใช้ปลายนิ้วสัมผัสบนคอมพิวเตอร์ มนุษย์ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ในการประกอบธุรกิจ(E-Commerce) ในการติดต่อสื่อสาร(Communication) ในการเปิดโลกทัศน์ หรือแม้แต่การใช้อินเทอร์เน็ต (Internet) เพื่อการแสวงหาองค์ความรู้(Knowledge)ใหม่ๆได้โดยง่ายดาย
แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป “สื่ออย่างใหม่” ชนิดนี้ ไม่เพียงสร้างคุณอนันต์ หากยังสร้างโทษมหันต์ให้กับมนุษย์อีกด้วย สื่อสารสนเทศและสื่อใหม่ๆเหล่านี้ได้กลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด “ปัญหาอาชญากรรม” และยิ่งเวลาผ่านไปยาวนานเท่าไร ปัญหาอาชญากรรมอันเกิดจากโลกอินเทอร์เน็ต (Internet) ยิ่งกลับทวีความรุนแรง และกลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อน และเกิดขึ้นอย่างเรื้อรังที่อยู่คู่กับสังคมเสมือนเป็นเวลายาวนาน ในขณะที่ภาครัฐก็ไม่มีทีท่าว่าจะสามารถหาหนทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดสิ้นไปได้ ตรงกันข้าม ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นภัยมืดที่มอมเมา คุกคามชีวิตและสวัสดิภาพของประชาชน เป็นบ่อเกิดของปัญหาอาชญากรรมที่มีผลสืบเนื่องมาจาก “การก่ออาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต” ดังนั้นการค้นหาวิธีการและแนวคิดในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หนึ่งในหลายๆวิธีนั้นคือ การสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในพื้นที่ไซเบอร์ โดยการจัดการศึกษาในระบบออนไลน์
จากการที่ในช่วงที่ผ่านมาผมได้มีการเขียนบทความเกี่ยวกับการจัดการศึกษาบนพื้นที่ไซเบอร์ขึ้น ก็ได้มีข้อคิดเห็นตอบกลับมาทั้งในแง่ของคำถามต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอน แต่ก็มีผลตอบกลับมาจำนวนหนึ่งที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากรที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการศึกษาบนพื้นที่ไซเบอร์ หรือการศึกษาออนไลน์ โดยเฉพาะบุคลากรที่เป็นอาจารย์ผู้สอน ในสังคมทั่วไปเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ครูบาอาจารย์นั้นนอกจากจะต้องมีความรู้ ความสามารถแล้วยังต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมที่มากกว่าบุคคลอื่นด้วย ดังนั้นในพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberspace) ซึ่งเกิดขึ้น เพื่อจะเป็นเสาหลักให้แก่การพัฒนารศึกษาระบบดังกล่าว สำหรับผู้เรียนนั้นความซื่อสัตย์ต่อตนเองในการเรียนรู้ การซื่อสัตย์ต่อตนเองในการเข้าเรียนในระบบไซเบอร์ รวมไปถึงการคัดลอกผลงานทางวิชาการ ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันอย่างจริงจัง การดำเนินการต่างๆเพื่อให้สามารถทำการจัดการศึกษาและจัดกรรมเสริมหลักสูตราในพื้นที่ไซเบอร์นี้ได้อย่างเหมาะสม ก็ต้องมีการพัฒนาบุคคลต่างๆที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ คู่กับการมีคุณธรรมและจริยธรรมพื้นฐานเหมือนในสังคมจริงๆโดยทั่วไป ซึ่งการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมโดยเฉพาะตัวของครูบาอาจารย์ ตลอดคุณธรมและจริยธรรมของนักศึกษาในการศึกษาโลกเสมือนจริงและพื้นที่ไซเบอร์ดังกล่าวจึงมีความสำคัญยิ่ง
เมื่อเป็นดังนั้น แม้ในบางเรื่องเราต้องพร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางคุณค่า ต่างๆที่ต้องเกิดขึ้น โดยที่เราจะต้องเตรียมรับมือให้พร้อม ไม่ปล่อยเลยตามเลย เพราะการศึกษาในโลกเสมือนจริง หรือโลกอินเทอร์เน็ต ที่มีการดำเนินการกิจกรรมทางการเรียนรู้ต่างๆบนพื้นที่ไซเบอร์เป็นส่วนใหญ่นี้ เราจะไปเรียกร้องและคาดหวังว่า การพิจารณาในเรื่องกรอบความสัมพันธ์ทาง คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมและความรับผิดชอบ ในระดับเดียวกับสิ่งต่างๆที่กล่าวมานี้ในโลกและสังคมจริงๆ คงจะไม่สอดคล้องเสียทีเดียว และยิ่งเราไม่ยอมรับว่าในโลกสมัยใหม่ดังกล่าวนี้ การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างนั้นยากที่กลับไปสู่คุณค่าแบบเดิมๆได้อีกแล้ว ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตามที ทำให้การเรียกร้องหรือคาดหวังว่า คุณธรรม จริยธรรมทุกอย่างในการดำเนินกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ต้องเป็นแบบที่เกิดในโลกจริง หรือการไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงเลยนั้นอาจจะขัดกับธรรมชาติของโลกอินเทอร์เน็ต การมองแบบนั้นอาจไปขัดกับเสรีภาพในทางความคิด ความเชื่อ ซึ่งในโลกอินเตอร์เน็ตนั้น ความคิดความเชื่อบางอย่างเป็นเสรีภาพที่ข้ามพรมแดน ดังกล่าวแล้ว แต่อย่างไรก็ตามหากเราจะปล่อยเลยตามเลย โดยไม่มีการพิจารณาเรื่องการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสมของบุคคลากรในการศึกษาออนไลน์ ก็จะเท่ากับเราไม่ปกป้องคนของเราที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือมีความอ่อนแอทางความคิดและประสบการณ์ และที่น่าเป็นห่วงมากก็คือตัวนักศึกษา เองซึ่งเป็นเป้าหมายของการจัดการศึกษา เพราะการจัดการศึกษาออนไลน์ประการหนึ่งก็คือเพื่อเปิดพื้นที่ที่จะให้บุคลากรของเรา ได้มาใช้ในการทำกิจกรรมทางการศึกษา ซึ่งนักศึกษาจะได้รับการเรียนรู้ทางทฤษฎี ความรู้ และทักษะ ไปพร้อมๆกับการยกระดับทาง คุณธรรมและจริยธรรมไปพร้อมกัน ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่
เราจะเห็นได้ว่าการที่เทคโนโลยีสารสนเทศได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกิดการบูรณาการขึ้นเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นโลกเสมือนจริง (Virtual World) และพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberspace) ได้เกิดผลประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมากมายมหาศาล ไม่เพียงแต่ในด้านการติดต่อสื่อสารข้อมูลสารสนเทศเท่านั้น หากยังได้มีการขยายกิจกรรมไปสู่การพาณิชย์ การศึกษา การจัดเก็บภาษี การค้นคว้าวิจัย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าดังกล่าวก็ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมและองค์กรอย่างมากมายเช่นเดียวกันโดยเฉพาะผลกระทบด้านลบ เช่นการล่อลวง การก่ออาชญากรรม การให้ร้าย การขโมยข้อมูลและรหัสลับ การค้าประเวณีและการค้ายาเสพติดทางอินเทอร์เน็ต การเผยแพร่ภาพที่ไม่เหมาะสมของบุคคลอื่น ตลอดจนการสื่อสารเพื่อการก่อการร้าย เป็นต้น ซึ่งผมมีความเห็นว่าที่เป็นอย่างนี้เพราะ บุคลากรส่วนใหญ่ได้รับการฝึกฝนและเข้าสู่โลกแห่งนี้ จากเพื่อนแนะนำเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเพื่อที่จะลดความเสียหายจากผลกระทบทางลบเหล่านี้ให้บรรเทาเบาบางลง นอกจากมาตรการอื่นๆแล้ว การจัดการศึกษาออนไลน์ในระบบที่สามารถส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ไปควบคู่กับให้ความรู้และทักษะต่างๆแก่เยาวชนและนักศึกษาของเรา จึงเป็นเรื่องจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
กล่าวโดยสรุปแล้วการพัฒนาระบบคุณธรรม จริยธรรมในโลกระบบการศึกษาออนไลน์ ดังกล่าว การถามหาจรรยาบรรณของครูบาอาจารย์ การพยายามทำความเข้าใจรายละเอียดของคุณธรรมและจริยธรรมในหมู่บุคลากร ในระบบการศึกษาโลกเสมือนจริงและการพยายามสร้างจรรยาบรรณของบุคคลากรของบุคคลากรสำหรับการศึกษาบนพื้นที่ไซเบอร์เพื่อมาดูแลควบคุมกันเองอย่างเหมาะสม แต่ขณะเดียวกันการพยายามให้สถาบันหลักๆในทางการศึกษาในโลกจริงได้เข้าใจ ก็เป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญมาก เพราะเราต้องไม่ทำให้ผู้คนคาดหวังว่า การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในโลกเสมือนจริงนั้น จะต้องเหมือนการจำลองโลกจริงๆเข้าไปไว้ในพื้นที่ไซเบอร์เสียเลยทีเดียว เพราะการคาดหวังเช่นนั้นอาจเป็นการไม่เข้าใจธรรมชาติของการทำงานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ทุกอย่างเป็นเรื่องไร้พรมแดน ทุกอย่างเป็นเรื่องสากล ทุกอย่างเป็นเรื่องของความรวดเร็ว แต่ที่กล่าวมานี้ก็เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ประเพณี เฉพาะที่ดีงามของเราในกระบวนการจัดการศึกษาบนพื้นที่ไซเบอร์ให้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง และอยากให้คิดว่าความพอดีและเหมาะสมในการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ในการศึกษาบนพื้นที่ไซเบอร์อยู่ที่ไหน เพื่อที่เราจะสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ทางคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณที่เหมาะสมทางการศึกษา และผลักดันให้มีการดำเนินการอย่างเป็นจริงให้เป็นผลสำเร็จ โดยมุ่งให้การศึกษาดังกล่าวนี้ได้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากรทุกส่วน โดยเฉพาะนักศึกษา เพื่อให้เรื่องนี้เป็นเสาค้ำที่สำคัญเสาหนึ่ง ในการพัฒนาการศึกษาในโลกเสมือนให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนยิ่งขึ้นได้ในที่สุดนั่นเอง
ยุคสมัยนี้ที่เป็นโลกยุคโลกาภิวัตน์(Globalization) เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากพลังขับเคลื่อนของเทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT) ในกับเทคโนโลยีการสื่อสาร (ICT) กับการผสมผสานของสื่อสารมวลชนในลักษณะใหม่ๆ ทำให้ในปัจจุบัน ทำให้โลกยุคปัจจุบัน อินเทอร์เน็ต(Internet) และสื่ออย่างใหม่(New Media) ได้มีอิทธิพล(Influence) ต่อการติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นอย่างมาก การพัฒนาขึ้นของระบบคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม ในสภาพปัจจุบัน ทำให้ระบบสารสนเทศและสื่อสารมวลชนไม่เพียงเป็นเรื่องของการประมวลผล และการรับส่งข้อมูลและความรู้แบบเดิมๆเท่านั้น หากได้มีการผสมผสานทางเทคโนโลยีจนเกิดเป็นโลกเสมือน (Virtual World) ขึ้นมา ในโลกเสมือนดังกล่าวนี้ ประกอบไปด้วยองค์กรเสมือน เครือข่ายเสมือน การพาณิชย์ในโลกเสมือน เป็นต้น และในโลกเสมือนดังกล่าวเราสามารถเห็นได้ว่ามนุษย์สามารถประกอบกิจกรรม ธุรกรรม หลายๆอย่างได้เหมือนในโลกจริงๆในโลกเสมือนนี้ อินเตอร์เน็ท (Internet) เปรียบเสมือน “ของขวัญแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ” ที่สวรรค์ประทานมาให้กับมนุษย์ และเพียงแค่มนุษย์ใช้ปลายนิ้วสัมผัสบนคอมพิวเตอร์ มนุษย์ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ในการประกอบธุรกิจ(E-Commerce) ในการติดต่อสื่อสาร(Communication) ในการเปิดโลกทัศน์ หรือแม้แต่การใช้อินเทอร์เน็ต (Internet) เพื่อการแสวงหาองค์ความรู้(Knowledge)ใหม่ๆได้โดยง่ายดาย
แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป “สื่ออย่างใหม่” ชนิดนี้ ไม่เพียงสร้างคุณอนันต์ หากยังสร้างโทษมหันต์ให้กับมนุษย์อีกด้วย สื่อสารสนเทศและสื่อใหม่ๆเหล่านี้ได้กลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด “ปัญหาอาชญากรรม” และยิ่งเวลาผ่านไปยาวนานเท่าไร ปัญหาอาชญากรรมอันเกิดจากโลกอินเทอร์เน็ต (Internet) ยิ่งกลับทวีความรุนแรง และกลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อน และเกิดขึ้นอย่างเรื้อรังที่อยู่คู่กับสังคมเสมือนเป็นเวลายาวนาน ในขณะที่ภาครัฐก็ไม่มีทีท่าว่าจะสามารถหาหนทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดสิ้นไปได้ ตรงกันข้าม ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นภัยมืดที่มอมเมา คุกคามชีวิตและสวัสดิภาพของประชาชน เป็นบ่อเกิดของปัญหาอาชญากรรมที่มีผลสืบเนื่องมาจาก “การก่ออาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต” ดังนั้นการค้นหาวิธีการและแนวคิดในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หนึ่งในหลายๆวิธีนั้นคือ การสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในพื้นที่ไซเบอร์ โดยการจัดการศึกษาในระบบออนไลน์
จากการที่ในช่วงที่ผ่านมาผมได้มีการเขียนบทความเกี่ยวกับการจัดการศึกษาบนพื้นที่ไซเบอร์ขึ้น ก็ได้มีข้อคิดเห็นตอบกลับมาทั้งในแง่ของคำถามต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอน แต่ก็มีผลตอบกลับมาจำนวนหนึ่งที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากรที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการศึกษาบนพื้นที่ไซเบอร์ หรือการศึกษาออนไลน์ โดยเฉพาะบุคลากรที่เป็นอาจารย์ผู้สอน ในสังคมทั่วไปเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ครูบาอาจารย์นั้นนอกจากจะต้องมีความรู้ ความสามารถแล้วยังต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมที่มากกว่าบุคคลอื่นด้วย ดังนั้นในพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberspace) ซึ่งเกิดขึ้น เพื่อจะเป็นเสาหลักให้แก่การพัฒนารศึกษาระบบดังกล่าว สำหรับผู้เรียนนั้นความซื่อสัตย์ต่อตนเองในการเรียนรู้ การซื่อสัตย์ต่อตนเองในการเข้าเรียนในระบบไซเบอร์ รวมไปถึงการคัดลอกผลงานทางวิชาการ ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันอย่างจริงจัง การดำเนินการต่างๆเพื่อให้สามารถทำการจัดการศึกษาและจัดกรรมเสริมหลักสูตราในพื้นที่ไซเบอร์นี้ได้อย่างเหมาะสม ก็ต้องมีการพัฒนาบุคคลต่างๆที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ คู่กับการมีคุณธรรมและจริยธรรมพื้นฐานเหมือนในสังคมจริงๆโดยทั่วไป ซึ่งการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมโดยเฉพาะตัวของครูบาอาจารย์ ตลอดคุณธรมและจริยธรรมของนักศึกษาในการศึกษาโลกเสมือนจริงและพื้นที่ไซเบอร์ดังกล่าวจึงมีความสำคัญยิ่ง
เมื่อเป็นดังนั้น แม้ในบางเรื่องเราต้องพร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางคุณค่า ต่างๆที่ต้องเกิดขึ้น โดยที่เราจะต้องเตรียมรับมือให้พร้อม ไม่ปล่อยเลยตามเลย เพราะการศึกษาในโลกเสมือนจริง หรือโลกอินเทอร์เน็ต ที่มีการดำเนินการกิจกรรมทางการเรียนรู้ต่างๆบนพื้นที่ไซเบอร์เป็นส่วนใหญ่นี้ เราจะไปเรียกร้องและคาดหวังว่า การพิจารณาในเรื่องกรอบความสัมพันธ์ทาง คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมและความรับผิดชอบ ในระดับเดียวกับสิ่งต่างๆที่กล่าวมานี้ในโลกและสังคมจริงๆ คงจะไม่สอดคล้องเสียทีเดียว และยิ่งเราไม่ยอมรับว่าในโลกสมัยใหม่ดังกล่าวนี้ การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างนั้นยากที่กลับไปสู่คุณค่าแบบเดิมๆได้อีกแล้ว ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตามที ทำให้การเรียกร้องหรือคาดหวังว่า คุณธรรม จริยธรรมทุกอย่างในการดำเนินกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ต้องเป็นแบบที่เกิดในโลกจริง หรือการไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงเลยนั้นอาจจะขัดกับธรรมชาติของโลกอินเทอร์เน็ต การมองแบบนั้นอาจไปขัดกับเสรีภาพในทางความคิด ความเชื่อ ซึ่งในโลกอินเตอร์เน็ตนั้น ความคิดความเชื่อบางอย่างเป็นเสรีภาพที่ข้ามพรมแดน ดังกล่าวแล้ว แต่อย่างไรก็ตามหากเราจะปล่อยเลยตามเลย โดยไม่มีการพิจารณาเรื่องการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสมของบุคคลากรในการศึกษาออนไลน์ ก็จะเท่ากับเราไม่ปกป้องคนของเราที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือมีความอ่อนแอทางความคิดและประสบการณ์ และที่น่าเป็นห่วงมากก็คือตัวนักศึกษา เองซึ่งเป็นเป้าหมายของการจัดการศึกษา เพราะการจัดการศึกษาออนไลน์ประการหนึ่งก็คือเพื่อเปิดพื้นที่ที่จะให้บุคลากรของเรา ได้มาใช้ในการทำกิจกรรมทางการศึกษา ซึ่งนักศึกษาจะได้รับการเรียนรู้ทางทฤษฎี ความรู้ และทักษะ ไปพร้อมๆกับการยกระดับทาง คุณธรรมและจริยธรรมไปพร้อมกัน ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่
เราจะเห็นได้ว่าการที่เทคโนโลยีสารสนเทศได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกิดการบูรณาการขึ้นเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นโลกเสมือนจริง (Virtual World) และพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberspace) ได้เกิดผลประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมากมายมหาศาล ไม่เพียงแต่ในด้านการติดต่อสื่อสารข้อมูลสารสนเทศเท่านั้น หากยังได้มีการขยายกิจกรรมไปสู่การพาณิชย์ การศึกษา การจัดเก็บภาษี การค้นคว้าวิจัย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าดังกล่าวก็ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมและองค์กรอย่างมากมายเช่นเดียวกันโดยเฉพาะผลกระทบด้านลบ เช่นการล่อลวง การก่ออาชญากรรม การให้ร้าย การขโมยข้อมูลและรหัสลับ การค้าประเวณีและการค้ายาเสพติดทางอินเทอร์เน็ต การเผยแพร่ภาพที่ไม่เหมาะสมของบุคคลอื่น ตลอดจนการสื่อสารเพื่อการก่อการร้าย เป็นต้น ซึ่งผมมีความเห็นว่าที่เป็นอย่างนี้เพราะ บุคลากรส่วนใหญ่ได้รับการฝึกฝนและเข้าสู่โลกแห่งนี้ จากเพื่อนแนะนำเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเพื่อที่จะลดความเสียหายจากผลกระทบทางลบเหล่านี้ให้บรรเทาเบาบางลง นอกจากมาตรการอื่นๆแล้ว การจัดการศึกษาออนไลน์ในระบบที่สามารถส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ไปควบคู่กับให้ความรู้และทักษะต่างๆแก่เยาวชนและนักศึกษาของเรา จึงเป็นเรื่องจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
กล่าวโดยสรุปแล้วการพัฒนาระบบคุณธรรม จริยธรรมในโลกระบบการศึกษาออนไลน์ ดังกล่าว การถามหาจรรยาบรรณของครูบาอาจารย์ การพยายามทำความเข้าใจรายละเอียดของคุณธรรมและจริยธรรมในหมู่บุคลากร ในระบบการศึกษาโลกเสมือนจริงและการพยายามสร้างจรรยาบรรณของบุคคลากรของบุคคลากรสำหรับการศึกษาบนพื้นที่ไซเบอร์เพื่อมาดูแลควบคุมกันเองอย่างเหมาะสม แต่ขณะเดียวกันการพยายามให้สถาบันหลักๆในทางการศึกษาในโลกจริงได้เข้าใจ ก็เป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญมาก เพราะเราต้องไม่ทำให้ผู้คนคาดหวังว่า การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในโลกเสมือนจริงนั้น จะต้องเหมือนการจำลองโลกจริงๆเข้าไปไว้ในพื้นที่ไซเบอร์เสียเลยทีเดียว เพราะการคาดหวังเช่นนั้นอาจเป็นการไม่เข้าใจธรรมชาติของการทำงานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ทุกอย่างเป็นเรื่องไร้พรมแดน ทุกอย่างเป็นเรื่องสากล ทุกอย่างเป็นเรื่องของความรวดเร็ว แต่ที่กล่าวมานี้ก็เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ประเพณี เฉพาะที่ดีงามของเราในกระบวนการจัดการศึกษาบนพื้นที่ไซเบอร์ให้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง และอยากให้คิดว่าความพอดีและเหมาะสมในการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ในการศึกษาบนพื้นที่ไซเบอร์อยู่ที่ไหน เพื่อที่เราจะสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ทางคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณที่เหมาะสมทางการศึกษา และผลักดันให้มีการดำเนินการอย่างเป็นจริงให้เป็นผลสำเร็จ โดยมุ่งให้การศึกษาดังกล่าวนี้ได้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากรทุกส่วน โดยเฉพาะนักศึกษา เพื่อให้เรื่องนี้เป็นเสาค้ำที่สำคัญเสาหนึ่ง ในการพัฒนาการศึกษาในโลกเสมือนให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนยิ่งขึ้นได้ในที่สุดนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น