วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

(2)

ธุรกิจร้านกาแฟ
ธุรกิจร้านกาแฟในช่วงระยะหลายๆปีมานี้ มีอัตราการขยายตัวทางธุรกิจที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง กระทั่งมีผู้ลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้เป็นจำนวนมาก ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่า ตลาดธุรกิจร้านกาแฟยังเปิดกว้างอยู่ค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตามการทำธุรกิจใดก็คือการทำธุรกิจ ซึ่งความสำเร็จก็มีอยู่คู่กับความเสี่ยงเสมอ ดังนั้นการประกอบ ธุรกิจร้านกาแฟก็เป็นเช่นเดียวกัน แม้ว่าจะเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตและอนาคตค่อนข้างสดใสมาก ตราบใดที่กาแฟยังสามารถสร้างสุนทรีย์ให้กับผู้ที่รักการดื่มการแฟได้อย่างต่อเนื่อง แต่การทำธุรกิจตามกระแส ผู้ประกอบการอาจไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ ผู้ประสบความสำเร็จได้ต้องรู้จริงในธุรกิจที่ตนเองจะทำ ผู้ที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจร้านกาแฟจึงควรศึกษาข้อมูลบางส่วนไว้ ดังนี้


วิวัฒนาการของร้านกาแฟ
ร้านกาแฟบ้านเราเริ่มจากร้านค้าเล็กๆรถเข็น คนหาบ กระทั่งพายเรือขายกาแฟที่เราท่านเคยเห็นกันมาตั้งแต่สมัยผู้เขียนยังเป็นเด็ก จะมีถุงชงกาแฟแล้วเทใส่แก้ว แล้วเติมด้วย น้ำตาลหรือนม เพื่อเพิ่มรสหวาน ก่อนคนให้เข้ากัน หากดื่มในตอนเช้าแล้วก็ต้องทานกับปาท่องโก๋ ข้าวเหนียวปิ้ง เป็นของทานเสริม และมีโต๊ะกลมและเก้าอี้นั่ง แบบหัวโล้น ซึ่งมักจะพบเห็นได้ตามตลาดสด สถานที่คนพลุกพล่าน คอกาแฟทั้งหลายมาดื่มกาแฟร่วมกัน แล้วอาจสนทนาแลกเปลี่ยนข่าวสาร ตั้งแต่การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ทั้งที่เป็นเรื่องเป็นราว ไปจนกระทั่งถึงนินทาชาวบ้าน การออกแบบร้านก็จะเป็นแบบเรียบ เน้นขายผลิตภัณฑ์มากกว่าขาย Design หรือรูปลักษณ์เหมือนเช่นในปัจจุบัน ยุคต่อมากาแฟ ร้านการแฟได้วิวัฒนาการมาเรื่อยๆจนกระทั่งมาเป็นแบบปัจจุบันที่มีการขายกันตามห้างสรรพสินค้า ตามปั๊มน้ำมัน มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อเน้นการแข่งขันกันมากข้น เพราะว่าในปัจจุบันคู่แข่งมีมากทั้งร้านที่เป็นของคนไทย ร้านที่เป็นสาขาของต่างประเทศ แม้แต่ร้านกาแฟโบราณก็มีการปรับตัวปรับรูปลักษณ์ เพื่อให้สามารถดำรงค์อยู่และแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหม่ๆที่เข้ามาทำธุรกิจนี้
นอกจากนั้นปัจจุบันนี้ ตลาดของคนดื่มกาแฟมีการขยายตัวมากขึ้น ทั้งในแง่ปริมาณและเนื้อหา ซึ่งสามารถสังเกตได้จาก ผลิตภัณฑ์กาแฟในท้องตลาดจะมีมากขึ้น และหลากหลายรูปลักษณ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกาแฟซอง กาแฟกระป๋อง กาแฟสดคั่ว หลายยี่ห้อ ราคาก็มีตั้งแก้วละ 10 บาท จนถึงแก้วละ 100 บาท ธุรกิจร้านกาแฟเกิดขึ้นมากมายในทุกสถานที่ ทั้งห้างสรรพสินค้า ตึกสูงที่เป็นสถานที่ทำงาน อาคารที่พักอาศัยร้านค้าตามถนนหนทาง ไปจนกระทั้งปั๊มน้ำมันดังกล่าวแล้ว และแนวโน้มของคนดื่มกาแฟจะหันมานิยมรสชาติของกาแฟคั่วบด ที่มีรสชาติเข้มข้นหอมมันมากขึ้น ได้มีร้านกาแฟซึ่งเป็นการขยายตัวจากต่างประเทศเข้ามาเปิดสาขาทำธุรกิจประเภทนี้ในไทยมากขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภคดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมากเห็นช่องทางที่จะสามารถทำธุรกิจกาแฟได้จากวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน
ธุรกิจร้านกาแฟกับโอกาสเติบโต
กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่มีกลิ่นและรสเป็นเอกลักษณ์ และเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลกจำนวนมากมาช้านาน ถึงแม้ว่า กาแฟจะไม่ได้เป็นเครื่องดื่มที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่กาแฟก็เป็นเครื่องดื่มที่คนไทยรู้จักและบริโภคมาเป็นเวลานานไม่ต่ำกว่า 200 ปีแล้ว โดยในประเทศไทยมีการปลูกกาแฟหลายพันธุ์ และหลายภูมิภาค อีกทั้งมีการพัฒนาวิธีการนำกาแฟมาผลิตเป็นเครื่องดื่มในลักษณะต่างๆ และมีรสนิยมการบริโภคกาแฟที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น โอเลี้ยง กาแฟเย็น หรือกาแฟโบราณที่ใช้ถุงกาแฟชง ซึ่งแตกต่างไปจากรสนิยมของต่างชาติที่นิยมบริโภคกาแฟกันอย่างแพร่หลาย อย่างสหรัฐอเมริกาหรือยุโรป เป็นต้น ปัจจุบันธุรกิจร้านกาแฟเป็นธุรกิจที่มีอัตราการขยายตัวสูง ผู้ประกอบการขนาดย่อมมีการปรับปรุงธุรกิจของตนเอง รวมทั้งมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก ถึงแม้กาแฟจะเป็นเครื่องดื่มที่มีจำหน่ายและเป็นที่รู้จักในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน แต่ลักษณะความนิยมและพฤติกรรมการดื่มกาแฟของคนไทย จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากชาวต่างประเทศ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ตลาดผลิตภัณฑ์กาแฟมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดการณ์ว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์กาแฟในปี 2548 เท่ากับ 21,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นปริมาณที่เติบโตมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ นับจากปี 2545 และมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 10 โดยแยกเป็นกาแฟผงสำเร็จรูป 9,300 ล้านบาท กาแฟกระป๋อง 7,000 ล้านบาท และร้านกาแฟพรีเมี่ยม 4,700 ล้านบาท ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาเฉพาะร้านกาแฟพรีเมี่ยม จะเห็นได้ว่า ปริมาณการขายเพิ่มขึ้นอย่างต่ำ 500 ล้านบาทต่อปี เริ่มจาก 3,000 ล้านบาทในปี 2545 เพิ่มขึ้นเป็น 3,500 ล้านบาทในปี 2546 ขยับเป็น 4,000 ล้านบาทในปี 2547 ที่ผ่านมา และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4,700 ล้านบาทภายในปี 2548 ผู้เขียนคาดการณ์ว่า ในปีปัจจุบัน (2552) ปริมาณการตลาดของกาแฟพรีเมี่ยมน่าจะอยู่ที่ ไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท เนื่องมาจากปริมาณร้านกาแฟพรีเมี่ยมที่เปิดตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคหันมาดื่มกาแฟคั่วบดแทนกาแฟผงสำเร็จรูปมากขึ้น ความนิยมในร้านกาแฟพรีเมี่ยมส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านช่องทางการจำหน่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเปิดให้บริการในพื้นที่ร้านค้าสมัยใหม่หรือ Modern Trade ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต ดีสเคาน์สโตร์ ทำให้เกิดการแย่งพื้นที่ทำเลดี ทำให้ต้นทุนในการขยายสาขาแต่ละแห่งเพิ่มสูงขึ้น ทางผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์โดยการเน้นความหลากหลายและสร้างความแตกต่าง โดยขยายสาขาเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย โดยทำเลนอกร้านค้าสมัยใหม่ที่น่าสนใจ คือ ปั๊มน้ำมัน โรงภาพยนตร์ รถไฟฟ้า ศูนย์แสดงสินค้า ร้านหนังสือ โรงพยาบาล สถานออกกำลังกาย สถานีรถไฟฟ้า และท่าอากาศยาน อย่างไรก็ตาม ร้านกาแฟในปั้มน้ำมันนั้น ถือเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตและรายได้ที่น่าสนใจมากธุรกิจหนึ่ง เพราะตลาดรวมยังขยายตัวได้อีกมาก ขณะที่ต้นทุนและค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในแต่ละวันไม่สูงนัก เนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่จะใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก โดยร้านกาแฟในปั๊มน้ำมันจะมีรายได้อยู่ประมาณวันละ 3,000-6,000 บาท หรือมีกำไรประมาณวันละ 1,000 บาท ร้านกาแฟในปั๊มน้ำมันถือเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่น่าสนใจและน่าจะได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันตลาดร้านกาแฟอยู่ในช่วงขยายตัว และมีฐานลูกค้ารองรับอีกมาก ขณะที่จำนวนร้านกาแฟในปั๊มน้ำมัน ถึงแม้ปัจจุบันมีอยู่หลายร้อยร้าน แต่ก็ยังไม่ถือว่ามีการแข่งขันที่รุนแรงมากนัก การที่ธุรกิจร้านกาแฟจากต่างชาติยังทยอยกันเข้ามาลงทุนเปิดกิจการในเมืองไทย แสดงว่า ตลาดของธุรกิจกาแฟนี้ยังมีอนาคต และได้รับการประเมินว่ายังขยายตัวต่อไปได้ ขณะเดียวกัน ก็เป็นสัญญาณเตือนภัยจากการรุกรานของธุรกิจข้ามชาติที่กดดันให้ร้านกาแฟของนักลงทุนไทยต้องปรับตัว ทั้งรสชาติและบริการ เพื่อเผชิญการบุกตลาดของเครือข่ายร้านกาแฟชื่อดังจากต่างประเทศ นอกจากการปรับตัวเพื่อรับการแข่งขันของบรรดาร้านกาแฟพรีเมี่ยมที่เป็นเครือข่ายสาขาจากต่างประเทศแล้ว บรรดาร้านกาแฟพรีเมี่ยมของไทยยังหันไปขยายสาขาในต่างประเทศ โดยปัจจุบันมีร้านกาแฟพรีเมี่ยมไทยใน 3 ประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ธุรกิจร้านกาแฟพรีเมี่ยมยังคงเป็นธุรกิจที่น่าลงทุน เนื่องจากการที่โอกาสทางธุรกิจยังเปิดกว้าง จากการที่ปริมาณการบริโภคกาแฟของคนไทยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และส่วนใหญ่ยังนิยมบริโภคกาแฟสำเร็จรูป ซึ่งธุรกิจร้านกาแฟ พรีเมี่ยมนี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคกาแฟของคนไทย นอกจากนี้ ปัจจุบันธุรกิจร้านกาแฟพรีเมี่ยมกำลังกลายเป็นร้านที่อยู่ในกระแสความนิยม โดยมีผู้ประกอบการไม่ต่ำกว่า 10 ยี่ห้อ ที่ประกาศขยายธุรกิจด้านนี้อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 2543 ทั้งในการขยายร้านกาแฟพรีเมี่ยมในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อย่างไรก็ตาม นักลงทุนรายย่อยก็ต้องเข้ามาในธุรกิจนี้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากมีความเสียงสูงกว่านักลงทุนรายใหญ่ที่มีทั้งกำลังเงินและความรู้ด้านเทคโนโลยี่ รวมทั้งเทคนิคการพลิกแพลงตลาด เพื่อขยายฐานการบริโภค ทำให้มีโอกาสในการประสบความสำเร็จในธุรกิจมากกว่า ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้วิเคราะห์ว่า ผลิตภัณฑ์กาแฟทุกประเภทยังเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ และสามารถเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากอัตราการบริโภคกาแฟของคนไทยในปัจจุบันยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ คือ บริโภคน้อยกว่าร้อยละ 0.5 กิโลกรัม/คน/ปี หรือคิดเป็นเพียง 130-150 ถ้วย/คน/ปี เท่านั้น (หรือเฉลี่ยไม่ถึงหนึ่งแก้ว/คน/วัน) เพราะปริมาณคนไทยที่บริโภคกาแฟเป็นประจำมีเพียงร้อยละ 30 (หรือไม่ถึง 2 ล้านคน) จากประชากรคนไทยทั้งหมดกว่า 60 ล้านคน ซึ่งยังมีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับประเทศในแถบเอเชียอย่างเช่น ญี่ปุ่น ดื่มกาแฟเฉลี่ย 500 แก้ว/คน/ปี หรืออเมริกาที่ดื่มกาแฟเฉลี่ย 700 แก้ว/คน/ปี (หรือเฉลี่ย 2 แก้ว/คน/วัน) ดังนั้น ธุรกิจผลิตภัณฑ์กาแฟยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก แต่คาดหมายว่าการแข่งขันในตลาดผลิตภัณฑ์กาแฟต่างๆ จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
หากจะกล่าวโดยสรุปเราจะเห็นได้ว่าตลาดร้านกาแฟโดยเฉพาะร้านการแฟพรีเมี่ยมยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเรามีการดื่มกาแฟมานานพอสมควรแม้ว่ากาแฟจะไม่ใช่พืชที่มีถิ่นกำเนิดในบ้านเราก็ตาม พวกเราที่มีอายุราวๆ 60 ปีลงมาคงจะเห็นร้านกาแฟ ที่เป็นสถานที่ที่ผู้คนมาดื่มกาแฟและสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเรื่องต่างๆตั้งแต่การบ้านยันการเมือง ตั้งแต่เรื่องที่มีสาระจนกระทั่งเรื่องสัพเพเหระ จนมีคำว่า “สภากาแฟ” อันเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป สภาพดังกล่าวนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยนั้นได้สร้างวัฒนธรรมในการดื่มกาแฟของตนเองขึ้น ซึ่งมีทั้งความเหมือนและแตกต่างกับคนชาติอื่นๆ การรุกเข้ามาของร้านกาแฟสัญชาติอื่นๆ จำเป็นต้องทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจกาแฟนี้ จะต้องปรับกลยุทธ์ทั้งรุกและรับ ให้ทันกับสถานการณ์ทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะร้านกาแฟพรีเมี่ยม แม้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยตอนจะเติบโตในอัตราที่ติดลบ แต่ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจกาแฟ คาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดจะทะลุระดับ 8,000 ล้านบาท ภายในเวลาไม่เกิน 5 ปีข้างหน้าอย่างแน่นอน แต่การปรับกลยุทธ์นี้ จะต้องไม่ลืมการพัฒนาที่ยืนอยู่บนพื้นฐานที่เข้มแข็งของวัฒนธรรมการดื่มกาแฟของไทยเราด้วย เพราะหากเราทำได้ ในการค้นหารูปลักษณ์ที่ลงตัว ก็ไม่แน่เช่นกันว่าร้านกาแฟสัญชาติไทยไม่เพียงแต่จะเติบโตได้ในประเทศ หากอาจไปเติบโตในตลาดต่างประเทศได้อย่างไม่ต้องอายใครๆชาติไหนๆได้เช่นกัน

อาณาจักรฟูนัน


อาณาจักรฟูนัน
( พุทธศตวรรษที่ ๖๑๑)

อาณาจักรฟูนัน (Funan)  เป็นอาณาจักรเก่าแก่ในดินแดนสุวรรณภูมิ หรือคาบสมุทรอินโดจีน  มีอำนาจรุ่งเรืองอยู่นานกว่า 500 ปี  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 ถึงพุทธศตวรรษที่ 11 ที่ตั้งของรัฐอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งประเทศกัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แถบลุ่มแม่น้ำชี ลุ่มแม่น้ำมูล และลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง บางตอนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และภาคใต้ของไทย ลงมาถึงแหลมมลายู ฟูนานรวมตัวกันเป็นรัฐแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรัฐชลประทานภายในแผ่นดินที่ประชาชนดำรงชีพด้วยการเกษตร โดยใช้น้ำจากระบบชลประทานที่พัฒนาเป็นอย่างดี นอกจากนั้น ฟูนานยังมีเมืองท่าสำหรับจอดเรือและค้าขายต่างประเทศ ฟูนาน จึงมีรายได้จากการค้าขาย การเดินเรืออีกด้วย
อาณาจักรที่ชาวจีนเรียกว่า อาณาจักรฟูนัน   น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า พนม หมายถึงภูเขา  ซึ่งมีความหมายว่า ราชาแห่งขุนเขา  เนื่องจากอาณาจักรนี้สร้างขึ้นทางตอนใต้ของแหลมอินโดจีนนั้นตั้งอยู่บนภูเขา  เป็นการสร้างเมืองขึ้นตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูลัทธิไศวะนิกายและไวณพนิกายที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย  จึงสร้างเมืองบนไว้ภูเขาวิหารจำลอง อาณาจักรฟูนัน (Funan) ในระยะแรกคงยังไม่มีระบบที่เป็นรัฐแบบแผนมากนัก จนกระทั่งต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๐ นั้น พราหมณ์โกญธัญญะจากอินเดียได้เดินทางมาครองอาณาจักรแห่งนี้ ได้สร้างแบบแผนของราชสำนักตามอย่างอินเดีย ซึ่งมีตำนานเล่าถึงราชวงศ์ฟูนันไว้ว่า ราชวงศ์ฟูนันนั้นเกิดจากพราหมณ์คนหนึ่งสมสู่กับนางนาค ซึ่งเป็นพระธิดาของพญานาค ที่มีอิทธิพลเหนือดินแดน แห่งลุ่มน้ำแม่โขง และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พราหมณ์ต่อมาก็สถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์นามว่า พระเจ้าโกณฑิณยะชัยวรมัน  โดยพราหมณ์โกณธิญญะ ซึ่งมีเชื้อสายจากอินเดีย ได้มีมเหสีคือ "นางพญาขอม"ซึ่งเป็นเจ้าหญิงชาวพื้นเมือง ที่ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของชนชาติพื้นเมือง  ราชวงศ์นี้ได้มีกษัตริย์ครองอาณาจักรฟูนันต่อมาจนถึง พ.. ๑๑๐๐ มีพระนามกษัตริย์ที่ปรากฏชื่อพระองค์สุดท้ายคือ  พระเจ้ารุทรวรมัน  เมืองหลวงของอาณาจักรฟูนัน นั้น บางระยะ คือ นอ-กอร กก-ทะโหลก ซึ่งหมายถึง เมืองพระนครที่ตั้งอยู่บนขุนเขาและต้นไม้สูงนั่นเอง     บางระยะคือ วยาธปุระ อันหมายถึงเมืองของนายพราน นอกจากนั้นแนวคิดบางอย่างก็ได้รับอิทธิพลมีความเชื่อในเรื่อง พญานาค
 "นาค "คำนี้หากความเชื่อตามตำนานต้องถือว่าเป็นสัตว์ที่มีฤทธิ์ เป็นตัวแทนความเชื่อของชาวฟูนันที่ยึดเอาเป็นสัญลักษณ์ประจำของชนเผ่า   นับถือนาคนับถืองูเช่นเดียวกับอียิปต์หรืออินเดีย   ความเชื่อนี้เกิดจากพื้นฐานของแหล่งที่อยู่อาศัย เช่นมีความเชื่อว่าแม่น้ำโขงเกิดจากรอยพญานาค    ดังนั้นน้ำและถ้ำใหญ่ใต้น้ำหรือบนขุนเขาจึงเป็นถิ่นที่อยู่ของพญานาค    ผู้นับถือนิยมที่จะสักลายตามผิวหนังด้วยรูปนาคและงู     มีพิธีกรรมสำหรับบูชาพญานาคเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข ดังนั้นอิทธิฤทธิ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บหรือถูกงูกัด ถือว่าเป็นการลงโทษของพญานาค    ซึ่งความเชื่อเช่นนี้ปัจจุบันยังมีหลงเหลืออยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง  เช่นมีความเชื่อว่า ทุกปีพญานาคจะพ่นบ้องไฟขึ้นเหนือแม่น้ำโขง เป็นต้น  
หากวิเคราะห์เอาว่ามนุษย์ที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงหรือทะเลสาบ เป็นผู้ที่อยู่กับน้ำซึ่งเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตประจำวันแล้ว   การอาศัยสิ่งที่อยู่ในน้ำเพื่อใช้อุปโภคบริโภคจึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เรียกกลุ่มคนริมน้ำว่า  มนุษย์นาคา    ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการหาปลาจับสัตว์น้ำและใช้เรือสำหรับเดินทางไปมาในแม่น้ำ     จนมีการสร้างเรือยาวที่มีหัวพญานาคหรือเรือมังกรขึ้นในดินแดนที่อยู่ริมแม่น้ำ  ก็พอจะมองเห็นภาพของชุมชนริมน้ำและชุมชนบนภูเขา ที่มีความเชี่ยวชาญในการเข้าป่าล่าสัตว์  นับถือขุนเขาและสิ่งลึกลับที่เกิดขึ้นในป่าเขา โดยเชื่อว่าอันตรายที่เกิดขึ้นจากสัตว์ป่าและไข้ป่านั้นเป็นการลงโทษของเจ้าป่าเจ้าเขา  หากจะเหมาเอาว่าเป็นยักษ์มารอะไรก็ไม่ผิดอะไร
ดังนั้นการตั้งบ้านเมืองจึงขึ้นอยู่ว่าผู้นำหรือกษัตริย์ของตนนั้นมีความเชื่อหรือนับถือเอาอะไรเป็นหลัก ฝ่ายนาคาหรือเจ้าป่าเจ้าเขา หรือได้รับอิทธิพลความเชื่อมาจากศาสนาใดก็จะพากันตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองตามคติความเชื่ออนั้น                   
 ดังนั้นเราพอจะลงความเห็นได้ว่าดินแดนสุวรรณภูมิซึ่งที่เป็นที่ตั้งของประเทศไทยปัจจุบันนี้ เดิมนั้นเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรฟูนันเดิม เนื่องจากได้พบหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทย คือทับหลังหินทรายแกะสลัก ยุคไพรกะเม็ง (.. ๑๑๘๐๑๒๕๐ สมัยเจนละ ยุคก่อนสร้างนครวัด นครธมในเขมร) ทับหลังยุคปาปวน (..๑๕๖๐๑๖๓๐) และศิลาจารึกขอมสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ นับเป็นหลักฐานศิลปโบราณที่เก่าแก่ที่สุด           
หลักฐานสำคัญเหล่านี้พบที่ วัดทองทั่ว-ไชยชุมพล ตำบลพะเนียด อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี(จันทบุรี นั้นเดิมชื่อ จันทบูนหรือจันทรบูรณ์ มีข้อสันนิษฐานว่า จันทบูรณ์น่าจะเป็นคำที่มาจากภาษาเขมรว่า เจือนตะโบง แปลว่า ชั้นที่อยู่ทางทิศใต้ หมายถึงเมืองที่อยู่ทิศใต้ของอาณาจักร) นอกจากนี้ยังพบจารึกวัดทองทั่ว เป็นจารึกอักษรปัลลวะ  ภาษาสันสกฤต  แปลได้ความว่า
การจารึกข้อความบนศิลานั้นเป็นอารยธรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของอาณาจักรฟูนัน เมื่อประมาณ๑,๓๐๐ปี มาแล้ว   เป็นความนิยมจารึกเรื่องราวไว้บนศิลา  เช่นเดียวกับการสลักรูปภาพต่างๆบนหินและแกะสลักลวดลายศิลปะต่างๆไว้ประกอบในการสร้างปราสาทหินที่มีอยู่มากมายในดินแดนภาคอีสาน
 นักประวัติศาสตร์บางคนมีความเห็นว่า ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๗-๙ เมื่อราว พ..๖๔๓ ถึงพ..๑๐๔๓ นั้น บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั้น  น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฟูนันด้วย โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณปากแม่น้ำโขงในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน    โดยอาณาจักรฟูนัน (Funan) ได้ถูกตั้งขึ้นและเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่   ที่เชื่อกันว่า ศูนย์กลางของอาณาจักรแห่งนี้น่าจะตั้งอยู่ที่ เมืองวยาธปุระ แถบเมืองเปรเวงในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน โดยมีเมืองออกแก้วหรือออกแอว ในประเทศเวียดนาม เป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเล ตั้งอยู่ตรงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน 
 คำว่าฟูนันนี้  น่าจะมาจากภาษาจีนที่แปลว่า  ภูเขา  โดยออกเสียงเป็นภาษาขอมได้ว่า "พนมอาณาจักรฟูนันนี้ได้รับเอาวัฒนธรรมฮินดูจากอินเดียมาใช้ในสังคมและเป็นชนชาติที่เป็นบรรพบุรุษของเขมรปัจจุบัน
 แต่เรื่องนี้ศาสตราจารย์ชอง  เซลิเยร์   นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส กลับมีความเห็นว่า  เมืองสำคัญของอาณาจักรฟูนันนั้น  น่าจะอยู่บริเวณเมืองอู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี เนื่องจากได้มีการค้นพบโบราณวัตถุสมัยฟูนัน เช่น ลูกปัด ดินเผา และสำริด เป็นจำนวนมากที่เมืองอู่ทอง

แต่ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าเมืองหลวงของฟูนัน น่าจะมีการเคลื่อนย้ายตามหัวหน้าใหญ่ ที่ถูกยกย่องขึ้นมาในแต่ละระยะ เพราะผู้นำหรือกษัตริย์ของฟูนัน ไม่ได้การสืบสันติวงศ์ ดังที่ได้มีการค้นคว้าเรื่องนี้ไว้
ในประวัติศาสตร์โบราณคดีของเขมร ได้เขียนไว้ว่า    ฟูนัน คืออาณาจักรเขมรยุคแรก เริ่มเมื่อเจ้าชายจากอินเดียชื่อ โกญทัญญะ”(จีนว่า โกณฑิยะลงเรือมาถึงอาณาจักรฟูนันแล้ว  ได้นางพญาฟูนัน(จีนว่าพระนาง ลิวเย่)เป็นพระชายา   (พระชายาผู้นี้น่าจะเป็นเชื้อสายกษัตริย์ในราชวงศ์ของฟูนันมากกว่าจะเรียกเป็นชื่อว่านางพญาฟูนัน) จึงได้ตั้งอาณาจักรฟูนันขึ้นตามชื่อของราชวงศ์กษัตริย์ฟูนันเดิม เพราะต่อมานั้นขุนพลฟันซีมัน ได้ขึ้นเป็นผู้ครองอาณาจักรนี้
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๘ ระหว่าง พ.. ๗๖๐๗๙๕  นั้น จดหมายเหตุของจีนราชวงศ์ฮั่นได้บันทึกไว้ว่า   ราชทูตจีนชื่อ คังไถ(K’ang T’ai) และจูยิง(Chu Ying)  ได้เดินทางมายังดินแดนของอาณาจักรฟูนัน  เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมจีน และได้จดบันทึกไว้ความว่า
           “เมืองฟูนันมีความรุ่งเรืองมาก  มีแม่น้ำใหญ่ไหลมาทางตะวันตกผ่ากลางเมือง   ชาวอินเดียชื่อโกณฑิยะ ได้เดินทางโดยเรือมายึดครองดินแดนบริเวณปากแม่น้ำโขง  และได้ประมุขของชาวพื้นเมืองคือพระนางลิวเย่(Liu-ye)เป็นชายา  ต่อมาอีกหลายปี ขุนพลฟันซีมัน(Fan Shihman)ได้ขึ้นเป็นเจ้าครองนครฟูนัน  ทรงขยายอาณาจักรฟูนัน ออกไปอย่างกว้างขวาง โดยสามารถยึดครองอาณาจักร ฉูตูคุณ    จิวจิ  และเตียนซุน ”  ราชฑูตจีนคังไถ ยังได้กล่าวเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันไว้อีกว่ามีกำแพงล้อมรอบเมือง   มีพระราชวังและบ้านประชาชน   ประชาชนมีหน้าตาน่าเกลียด  ผิวดำ ผมหยิก  ไม่สวมเสื้อผ้าและเดินเท้าเปล่า    อัธยาศัยใจคอง่าย ๆ ไม่ลักขโมย   ปลูกหว่านพืชเพียงปีหนึ่งแต่เก็บเกี่ยวไปได้สามปี  ชอบแกะสลักเครื่องประดับ   ภาชนะกินอาหารมักทำด้วยเงิน  เก็บภาษีเป็นทองคำ เงิน ไข่มุก และเครื่องหอม   มีหนังสือ หอจดหมายเหตุ โดยใช้อักษรที่คล้ายอักษรของชนชาติฮู (Hu)” 
จดหมายเหตุจีนที่บันทึกไว้ในสมัยสามก๊ก  ได้กล่าวถึง อาณาจักรฟูนัน ไว้ว่า
ใน  .. ๗๘๖   อาณาจักรฟูนัน ได้ส่งคณะทูตมาประเทศจีน พร้อมกับส่งนักดนตรีและพืชผลในประเทศเป็นเครื่องราชบรรณาการ
จดหมายเหตุจีนที่บันทึกเมื่อพ.. ๑๐๔๖  มีความว่า   ฟูนันส่งราชทูตไปประเทศจีน   และจักรพรรดิ์ของจีนได้มีพระราชโองการ  ว่า  
 “พระราชาแห่งรัฐฟูนัน      ทรงพระนามว่า โกณฑิยะชัยวรมัน   ประทับอยู่สุดเขตโพ้นทะเล   ราชวงศ์ของพระองค์ได้ทรงปกครองบรรดาประเทศโพ้นทะเลทางใต้ และได้ทรงแสดงความซื่อสัตย์สุจริตด้วยการส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายหลายครั้ง   บัดนี้สมควรจะตอบแทนให้ทัดเทียมกันและให้ตำแหน่งอันมีเกียรติยศ  คือตำแหน่งขุนพลแห่งภาคสันติใต้  กษัตริย์แห่งฟูนัน"
จดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์ฉี สมัยต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ได้กล่าวไว้ว่า    “ประชาชนฟูนันโหดร้ายและเต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยม เข้าโจมตีเมืองที่ไม่ยอมอ่อนน้อมและกดขี่ประชาชนลงเป็นทาส  มีสินค้าคือ ทอง เงิน ผ้าไหม   คนสำคัญใช้ผ้ายกนุ่งเป็นโสร่ง    หล่อแหวนและกำไลด้วยทองคำ       ใช้ภาชนะทำด้วยเงิน   คนจนนุ่งผ้าฝ้ายผืนเดียว   ริมทะเลมีกอไผ่ใหญ่  ใช้ใบไผ่สานเป็นหลังคาบ้านเรือนซึ่งยกพื้นสูงเหนือน้ำ  ใช้เรือที่มีหัวและท้ายคล้ายปลา  พระราชาเสด็จบนหลังช้าง  มีการชนไก่   วิธีพิพากษาคดีใช้วิธีโยนไข่   หรือแหวนทองคำ  ลงในน้ำเดือดแล้วให้คู่ความหยิบออกมา หรือเผาโซ่ให้ร้อนแล้วให้คู่ความเดินถือไป ๗ ก้าว ผู้ผิดจะมือพอง และผู้ถูกจะไม่บาดเจ็บ
   (.. สุภัทรดิศ ดิศกุล : ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.. ๒๐๐๐ , รุ่งแสงการพิมพ์, ๒๔๓๕ หน้า ๑๘)
อาณาจักรฟูนันมีความเจริญสูงสุดในพุทธศตวรรษที่ ๙ แล้วเริ่มเสื่อมในพุทธศตวรรษที่ ๑๐  ต่อมาอาณาจักรแห่งนี้ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรเจนละ(ในเขมร)เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑    จากนั้นอาณาจักรฟูนัน ก็สูญหายไป เนื่องจากได้เกิดมีอาณาจักรเจนละและอาณาทวาราวดีขึ้นมาแทนในดินแดนของอาณาจักรฟูนันเดิม
 การขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองออกแก้ว(OC-EO) ตรงบริเวณปลายแหลมญวน ซึ่งเชื่อว่าเป็นเมืองท่าที่เกิดขึ้นในสมัยฟูนันนั้น    ได้พบโบราณวัตถุสมัยฟูนัน  เช่นถ้วยชาม เงินตรา พระพุทธรูป และเทวรูป  ส่วนใหญ่เป็นศิลปะอมราวดีจากอินเดีย  สำหรับดินแดนที่อยู่ในประเทศไทยนั้น  ได้มีการสำรวจพบเงินเหรียญรูปพระอาทิตย์และศิลปวัตถุสมัยฟูนันหลายอย่าง พบที่แหล่งโบราณสถานคอกช้างดิน  อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี  และที่เมืองจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์  ซึ่งเป็นหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่าดินแดนสุวรรณภูมินั้นเคยได้รับอิทธิพลหรืออยู่ในอาณาจักรฟูนันมาก่อน
เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ นั้นหลวงจีนอี้จิง ได้ออกเดินทางโดยเรือจากจีนไปสืบพระศาสนาที่อินเดีย   ได้แล่นเรือผ่านบริเวณที่เคยเป็นอาณาจักรฟูนันมาก่อน และบันทึกไว้ว่า
 พราหมณ์ชาวอินเดียได้เคยอพยพมาตั้งถิ่นฐานและแต่งงานกับเจ้าหญิงชนพื้นเมืองเดิม สถาปนาอาณาจักรฟูนันขึ้น   โดยรับอารยธรรมอินเดียอย่างแน่นแฟ้น  เช่น การปกครองแบบเทวราชา  ในอาณาจักรฟูนันสมัยก่อน  พระธรรมทางศาสนาพุทธได้แพร่หลายและขยายออกไป   แต่ในปัจจุบัน พระราชาที่โหดร้าย
ได้ทำลายพระธรรมเสียสิ้นและไม่มีพระสงฆ์เหลืออยู่เลย”                                
เมื่ออาณาจักรฟูนันล่มสลายเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๑  อาณาจักรเจนละได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาครั้งเมื่ออาณาจักรเจนละมีอิทธิมากขึ้น จึงได้แผ่อำนาจมาทางอาณาจักรฟูนัน จึงทำให้เกิดการต่อสู้ชิงอำนาจเป็นใหญ่ในดินแดนดังกล่าว  ในที่สุดอาณาจักรเจนละก็สามารถครอบครองดินแดนแถบนี้ได้

แผนที่ อาณาจักรฟูนัน ( Funan )


FunanMap001.jpg
http://bits.wikimedia.org/skins-1.19/common/images/magnify-clip.png

เรื่องราวของรัฐฟูนาน ทราบจากบันทึกของชาวจีนที่เดินทางมาแถบนี้ ได้เขียนเล่าถึงความมั่งคั่ง ความเป็นอยู่ในชุมชนที่มีระเบียบ มีคุณธรรม มีการปกครองระบอบกษัตริย์ มีเมืองต่าง ๆ มาขึ้นด้วยหลายเมือง มีวัฒนธรรมแท้ ๆ ของตนเอง มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศ ทั้งในทวีปเอเชียด้วยกัน และโลกตะวันตก ชนชั้นสูงเป็นพวกมาลาโยโพลีนีเซียน ชาวจีนว่าพวกชนชั้นพื้นเมืองของฟูนันหน้าตาหน้าเกลียด ตัวเล็ก ผมหยิก สันนิฐานว่าน่าจะเป็นพวกเนกริโตและเมลานีเซียน ฟูนานมีประวัติความเป็นมา เริ่มจากการรวมตัวกันของผู้คน เป็นชุมชนเล็กขนาดหมู่บ้าน จากหมู่บ้านพัฒนาขึ้นมาเป็นรัฐ วิธีการพัฒนาจากสังคมเผ่าเป็นสังคมรัฐมีปัจจัยและขั้นตอนหลายประการ
 ศูนย์กลางของอาณาจักรฟูนัน มีการย้ายตามหัวหน้าเผ่าที่ถูกได้รับการยกย่องให้ขึ้นเป็นหัวหน้าใหญ่ บางช่วงก็ตั้งอยู่แถบแม่น้ำโขงตอนใต้หรือที่ราบปากแม่น้ำโขงที่เป็นประเทศกัมพูชา ประชาธิปไตยในปัจจุบัน  บางช่วงก็สามารถแผ่อำนาจเข้ามาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของดินแดนที่เป็นอาณาจักรไทย  และภาคใต้ของดินแดนที่เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบันและได้ ขยายอิทธพลไปถึงแหลมมลายูด้วย
 เวลาต่อมาได้มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มขึ้น  พบหลักฐานใหม่ๆ ทำให้เชื่อกันว่าบางระยะฟูนันก็มีศูนย์กลางอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  แม้นักปราชญ์ทางโบราณคดีชาวต่างประเทศบางคน เช่น ศาสตราจารย์ชอง บวสเซอลี เยร์  แห่งมหาวิทยาลัยซอร์บอน ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้แสดงความเห็นว่า ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 7 - 9  บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาน่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรฟูนัน   ประมาณปี พ .ศ. 800  ถึงปลายปี พ.ศ. 900  ฟูนันเจริญสูงสุด มีอิทธิพลเหนืออาณาจักรต่างๆในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และอาณาจักรทางใต้ไปจนถึงปลายแหลมมลายู รวมเป็นเขตอิทธิพลของอาณาจักรฟูนัน  และฟูนันยังมีอิทธิพลไปถึงดินแดนทางตอนใต้ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามใน ปัจจุบัน ลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้และยังมีอำนาจเหนืออาณาจักรขอมด้วย
 นับตั้งแต้พุทธศตวรรษที่ 11-12  เป็นต้นมา เมืองในเขตลุ่มแม่น้ำใกล้ทะเลหรืออยู่ในเส้นทางผ่านของการเดินเรือระหว่าง อินเดียกับจีน ซึ่งเป็นเมืองท่าที่เกี่ยวข้องกับการค้าขาย  ได้สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมกับโลกภายนอก เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ  ผู้นำของเมืองได้เรียนรู้อารยธรรมอินเดียซึ่งผูกพันกับทั้งศาสนาพราหมณ์และ พุทธศาสนา  โดยได้นำมาปรับให้เข้ากับทัศนคติความเชื่อดั้งเดิมของท้องถิ่น  สังคมเมืองจึงพัฒนาขึ้นเป็นแคว้นหรืออาณาจักร  มีการจัดรูปแบบการปกครองและระบบสังคมที่รัดกุมขึ้น สามารถสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองโดยเริ่มจาก อาณาจักรทวารวดี เป็นมา ทำให้อำนาจของอาณาจักรฟูนันเริ่มถดถอยลง
ผลจากการขุดค้นที่เมืองจันเสน  อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์  ปรากฏว่าพบชุมชนโบราณซึ่งมีอายุประมาณปี พ.ศ.799-983 และผลการสำรวจทางโบราณคดีที่เมืองอู่ทอง  อำเภอ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี  ได้พบเครื่องประดับ  แม่พิมพ์ตราประทับเหรียญกษาปณ์  พระพุทธรูปและเทวรูป เป็นต้น   นั่นแสดงว่าเมืองอู่ทองมีร่องรอยของวัฒนธรรมแห่งอาณาจักรฟูนันที่เหลือตกทอดมาอยู่
อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือในระยะพุทธศตวรรษ ที่ 12 อาณาจักรเจนละซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของฟูนันได้เข้มแข็งมากขึ้นจนสามารถเอาชนะและเข้าแทนที่ฟูนันในอาณาบริเวณภาคอีสาน ลาวตอนใต้ และประเทศกัมพูชาปัจจุบันในที่สุด

การพัฒนาสังคมเผ่ามาเป็นสังคมรัฐ

สังคมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสังคมเผ่า (Tribal Society) ต่อมาพัฒนาเป็นสังคมรัฐ (Social State) เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 เป็นต้นมา ตัวอย่าง คือ ฟูนาน เดิมเป็นหมู่บ้าน ต่อมาขยายออกไปเพราะมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงต้องขยายที่เพาะปลูกให้พอกินพอใช้กับจำนวนชุมชนที่ขยายขึ้น ได้พยายามหาเทคโนโลยีการเกษตร มาช่วย เช่น ขุดคูคลองกั้นน้ำ เพื่อให้อยู่ดีและมีอาหารพอเพียงต่อมาเริ่มมีโครงร่างของสังคมดีขึ้น จึงพัฒนามาเป็นรัฐ เหตุที่ฟูนานพัฒนาเป็นรัฐได้นั้น มีผู้แสดงความเห็นไว้ เช่น เคนเนธ อาร์ ฮอลล์ กล่าวว่า เป็นเพราะฟูนานมีการพัฒนาในเรื่องการเพาะปลูกอย่างมาก และที่สำคัญอีก คือ ฟูนานมีเมืองท่าที่ เป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเล พร้อมทั้งได้ยกข้อคิดเห็นของ โอ.ดับบลิว.โวลเดอร์ (O.W.Wolter) ที่กล่าวถึงการพัฒนาการจากสังคมเผ่าเป็นสังคมรัฐว่า เป็นเพราะลักษณะทางการค้า และสภาพภูมิศาสตร์เอื้ออำนวย โดยเฉพาะที่เมืองออกแก้ว (Oc-EO) เมืองท่าของฟูนานที่เรือต่าง ๆ ผ่านมาต้องแวะด้วย เมืองออกแก้วเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการผลิตเพิ่มขึ้นในดินแดน เพื่อสนองความต้องการสินค้าของคนที่แวะมาเมืองท่า และการชลประทานในฟูนันก็เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกทำให้ฟูนันขยายตัวเป็นรัฐ ขึ้นมา และเป็นรัฐแรกในภูมิภาคนี้ ส่วนเรื่องการเข้ามาของชาวอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น่าจะเริ่มที่พ่อค้าเข้ามาก่อน โดยมาติดต่อกับผู้ปกครอง แล้วพราหมณ์จึงตามเข้ามาทีหลัง และไม่เชื่อว่า ฟูนานจะกว้างใหญ่ถึงขนาดเป็นอาณาจักร (Kingdom) ได้แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดในการใช้คำศัพท์ ทั้งนี้ เพราะส่วนใหญ่ข้อมูลได้มาจากจีน จีนมองดูบ้านเมืองในแถบนี้ด้วยสายตาของคนจีน และนำเอาคำศัพท์ของจีนมาใช้ เช่นเดียวกับชาวตะวันตก ที่ใช้คำว่า “Kingdom” หมายถึง อาณาจักรในแนวคิด และแบบของยุโรป ซึ่งเทียบกันไม่ได้กับสภาพจริงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการศึกษาโดยละเอียด ในเนื้อหาของบันทึกหลักฐานทางโบราณคดี และสภาพแวดล้อมแล้ว ฟูนันยังไม่เหมาะที่จะใช้กับคำว่า อาณาจักรหรือจักรวรรดิได้ ฟูนันขณะนั้นเป็นเพียงการรวมเผ่าต่าง ๆ เข้าด้วยกัน มีหัวหน้าใหญ่ซึ่งได้มาโดยการยกย่องหัวหน้าเผ่าบางคนขึ้นมาโดยดูจากความ สามารถส่วนตัว หัวหน้าใหญ่คนนี้ก็จะมีอำนาจอยู่ในชั่วอายุของตนเองเท่านั้น เมื่อตายไปแล้วอำนาจก็สิ้นสุด ไม่ตกทอดถึงทายาท ลักษณะเช่นนี้ทำให้ศูนย์กลางของฟูนันมีการเคลื่อนตัว ไปตามเมืองที่หัวหน้า(เผ่า)ใหญ่ครอบครองเป็นหลักอยู่

http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/597/14597/images/sphoto1/bphoto142.JPG


http://www.bloggang.com/data/m/moonfleet/picture/1262491653.jpg


http://www.bloggang.com/data/m/moonfleet/picture/1262493874.jpg


http://www.bloggang.com/data/m/moonfleet/picture/1262493952.jpg


http://www.bloggang.com/data/m/moonfleet/picture/1262494007.jpg


การเกษตรกรรม
โอ.ดับบลิว.โวลเดอร์ กล่าวว่า พัฒนาการของฟูนันมีที่มาจากการที่รัฐสร้างโครงสร้างชลประทานขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการผลิตในทางเกษตรกรรม โดยเฉพาะข้าวที่รัฐฟูนันดึงเข้ามายังส่วนกลางในรูปของส่วยอากร เพื่อสร้างความมั่งคั่ง และมั่นคงทางการเมืองให้แก่รัฐและกลุ่มชนชั้นปกครอง ขณะเดียวกัน มีนักวิชาการท่านหนึ่ง ได้ค้านแนวความคิดเรื่องโครงสร้างชลประทานขนาดใหญ่ดังกล่าว คือ ดับบลิว.เจ.แวนเลอ (W.J.Van Liere) 3 กล่าวว่าไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นว่า โครงสร้างชลประทานขนาดใหญ่จะมีผลไปถึงการเพาะปลูก ตรงข้ามโครงสร้างดังกล่าว เป็นเรื่องของศาสนาที่ค้ำจุนฐานะของกษัตริย์ในลัทธิเทวราช และอาจเป็นคูคลองป้องกันเมืองก็ได้ ส่วนการปลูกข้าวยังอาศัยฤดูกาลทางธรรมชาติ ตลอดจนการชลประทานขนาดเล็กที่ราษฎรทำเอง เรียกว่า ชลประทานราษฎร์ ซึ่งระบบนี้ยังมีการตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ความเจริญและความเสื่อม

หลักฐานของจีนกล่าวว่า ฟูนันตั้งขึ้นโดยพราหมณ์โกณธัญญะ (Kaundinya) ผู้มีอิทธิพลเหนือชาวพื้นเมืองและได้แต่งงานกับนางพระยาหลิวเหย่ (Lieo-Yeh) ของแคว้นนี้ เมื่อพุทธศตวรรษที่ 7  ระยะนั้นฟูนันอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ เมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ (Vyadhapura) แปลว่า เมืองของกษัตริย์นายพราน (The city of the hunter king) ชื่อของฟูนานเทียบกับภาษาเขมร คือ พนม บนม หรือภูเขา ผู้ปกครองของฟูนาน เรียกว่า กูรุง บนม (Kurung Bnam) คือ เจ้าแห่งภูเขา (King of the Mountain) วยาธปุระ อยู่ใกล้เขาบาพนม (Ba Phnom) และมีเมืองท่าชายทะเลที่สำคัญ คือ เมืองออกแก้ว มีแม่น้ำสายยาว 200 กิโลเมตรต่อเชื่อมเมืองท่าออกแก้วกับเมืองวยาธปุระ เนื่องจากเมืองหลวงตั้งอยู่ส่วนสูงสุดของสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำโขง ใกล้ภูเขาบาพนม ตรงที่แม่น้ำทะเลสาบไหลมารวมกัน จึงช่วยระบายน้ำในทะเลสาบไปยังพื้นที่ทางทิศตะวันตก ซึ่งช่วยในการเพาะปลูกได้ดี สถานที่ตั้งทางด้านยุทธศาสตร์ของฟูนัน ทำให้สามารถควบคุมช่องแคบเดินเรือที่เชื่อมฝั่งทะเลของอ่าวไทยเข้ากับทะเล อันดามันและเมืองท่าต่าง ๆ ของจีนทางตอนใต้ เห็นได้ชัดว่า ได้ให้ความมั่งคั่ง และอิทธิพลทางการเมืองอย่างสำคัญยิ่ง ทำให้ฟูนันมีอำนาจปกครองเหนือเมืองลังกาสุกะ (Langkasuka)  มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองปัตตานี และเมืองตามพรลิงก์ (Tambralinga)  มีเมืองหลวงอยู่ที่นครศรีธรรมราชหรือไชยา  เมืองทั้งสองตั้งอยู่สองฝั่งเส้นทางเดินเรือค้าขายที่สำคัญ ฟูนันยังมีอำนาจเหนือเจนละ ซึ่งอยู่ตอนเหนือของฟูนัน ฟูนันปกครองเหนือดินแดนในอินโดจีนส่วนใหญ่อยู่นานถึงห้าศตวรรษ
การขนส่งภายในฟูนานใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ประชากรอาศัยอยู่ริมฝั่งน้ำ ปลูกบ้านแบบใต้ถุนสูง กีฬาที่โปรดปราน คือ การชนไก่ ชนหมู ภาษีอากรจ่ายเป็นทอง เงิน ไข่มุก น้ำหอม ฟูนานได้ติดต่อค้าขายกับตะวันตกด้วย เพราะจากการขุดค้นได้พบรากฐานของอาคารหลายแห่งที่เมืองออกแก้ว ได้พบหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างฟูนานกับตะวันตก เช่น เหรียญโรมันต่าง ๆ มีรูปจักรพรรดิโรมัน แหวนจารึกภาษาอินเดีย สมัยพุทธศตวรรษที่  8 – 12  หินสลักรูปต่าง ๆ ที่ได้แบบมาจากกรีก

ลักษณะของวัฒนธรรม

ลักษณะของวัฒนธรรมที่เมืองออกแก้ว เป็นแบบผสมกันระหว่างวัฒนธรรมพื้นเมืองและวัฒนธรรมอินเดีย เช่น ประเพณีการบูชาภูเขาอันศักดิ์สิทธิ์ และเจ้าหญิงธิดาพญานาคของชาวฟูนัน ได้สืบทอดต่อมาเป็นธรรมเนียมที่กษัตริย์กัมพูชาทรงปฏิบัติในระยะต่อๆมา  ส่วนลักษณะของสถาปัตยกรรมเป็นแบบวัฒนธรรมอินเดีย ได้แก่ โบราณสถาน(ในแถบประเทศกัมพูชาปัจจุบัน)สมัยก่อนนครวัด นอกจากนั้น มีพระพุทธรูปแบบคุปตะ ภาพปั้นพระวิษณุสวมมาลาทรงกระบอก และภาพปั้นพระหริหระ ล้วนแสดงให้เห็นว่า ประติมากรชาวฟูนันได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากอินเดียสมัยราชวงศ์ปาลวะ และราชวงศ์คุปตะ ทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู มีภาษาสันสกฤต ซึ่งเห็นได้จากบันทึกของชาวฟูนานที่บันทึกไว้คราวมีงานเฉลิมฉลองรัชกาลพระ เจ้าโกณธิญญะที่ 2 (สวรรคต พ.ศ. 977) และรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 (ครองราชย์ พ.ศ. 1021 – 1057) ที่มีประเพณีการจัดงานต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะแสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียแล้ว ยังปรากฏคำลงท้ายพระนามกษัตริย์ฟูนันว่า วรมันภาษาสันสกฤต แปลว่าผู้อยู่ใต้การอุปถัมภ์ทั้งนี้เพราะพระเจ้าโกณธิญญะนั้นเดิมท่านไม่ได้เกิดมาในวรรณะกษัตริย์ หากเป็นเพียงผู้เกิดมาในวรรณะพราหมมณ์ ที่อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของวรรณะกษัตริย์จากอินเดียอีกต่อหนึ่ง สิ่งเหล่านี้ ล้วนแสดงให้เห็นอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียที่มีต่อรัฐฟูนัน ฟูนันมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน ดังนั้น เรื่องราวของฟูนันจึงปรากฏในบันทึกของจีน ที่กล่าวไว้ว่า เมืองต่าง ๆ ในฟูนันมีกำแพงล้อมรอบ มีปราสาทราชวัง และบ้านเรือนราษฎรชาวฟูนานมีผิวดำ ผมหยิก เดินเท้าเปล่า ทำการเพาะปลูก ชอบการแกะสลักเครื่องประดับเครื่องประดับ การสลักหิน มีตัวอักษรใช้ลักษณะคล้ายกับอักษรของพวก ฮู้” (อยู่ในเอเชียตอนกลาง ใช้อักษรแบบอินเดีย) มีทาสเชลยศึก มีการค้าทองคำ ค้าเงิน ค้าไหน ทำแหวน สร้อยมือทองคำ ถ้วยชามเงิน การพิจารณาคดีความใช้แบบจารีตนครบาล เช่น ล้วงหยิบ แหวนทองเหลือง หรือไข่ในน้ำเดือด ใช้โซ่ร้อนจัดคล้องมือ แล้วเดินไป 7 ก้าว หรือดำน้ำพิสูจน์ เป็นต้น มีแหล่งน้ำใช้ร่วมกัน มีการทดน้ำ เพื่อการเพาะปลูก สถาปัตยกรรมเป็นแบบหลังคา เป็นชั้นเล็ก ๆ จำนวนมาก ตกแต่งด้วยช่องเล็กช่องน้อยครอบอยู่

จากบันทึกของชาวจีน

เรื่องราวของฟูนันได้ทราบจากบันทึกของชาวจีนชื่อ คังไถ่ ซึ่งเดินทางมากับคณะทูตจีน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกนำมากล่าวอ้างอิงกันมากแต่ปัจจุบันได้มีนัก วิชาการนำบันทึกของคังไถ่มาวิเคราะห์กันใหม่ และได้แสดงความคิดเห็นคัดค้านข้อมูลเกี่ยวกับฟูนัน โดยยกเหตุผลมาสนับสนุนข้อคัดค้านของตน ดังได้กล่าวมาแล้ว ในเรื่องพัฒนาการของสังคมเผ่าเป็นสังคมรัฐ และยังมีอีกหลายประเด็นที่ เคนเนธ อาร์.ฮอลล์ กล่าวไว้รวมทั้งตำนานเกี่ยวกับการเข้ามาตั้งฟูนัน โดยพราหมณ์โกณธิญญะมาแต่งงานกับนางพระยาหลิวเหย่ว่าเป็นเรื่องของการใช้ตำนานเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์น่ายินดีและเพื่อสถานภาพของกษัตริย์ ความเห็นนี้ตรงกับ มิสตัน ออสบอร์น ที่กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นตำนานเล่ากันมา เป็นการบิดเบือน เพื่อหวังผลทางปฏิบัติอย่างสูง สำหรับคนระดับที่เป็นผู้ปกครองของรัฐนี้ฟูนานรับวัฒนธรรมอินเดียทั้ง รูปแบบการปกครอง สังคม วัฒนธรรม อิทธิพลวัฒนธรรมอินเดีย มีอยู่มากในชนระดับสูง ส่วนชาวบ้านทั่วไปยังยึดมั่นในขนบประเพณีสังคมดั้งเดิมของตนอยู่ ฟูนันมีลักษณะเป็นรัฐชลประทาน มีการชลประทานเพื่อปลูกข้าว โดยการขุดคูคลองทำนบกักเก็บน้ำ แล้วระบายไปยังไร่นาต่าง ๆ ขณะเดียวกัน ก็มีเมืองท่าชื่อเมืองออกแก้ว เป็นแหล่งนำรายได้ผลประโยชน์มาสู่รัฐอีกทางหนึ่ง นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ด้วย อีกหลักฐานหนึ่งคือตามหลักฐานจีนจากบันทึกของภิษุอี้จิง  นักธรรมจาริกชาวจีนซึ่งได้เดินทางโดยทางเรือเพื่อไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ ประเทศอินเดียในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 13  และได้ผ่านบ้านเมืองหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  กล่าวว่าพราหมณ์ชาวอินเดียได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานและแต่งงานกับชนพื้นเมืองที่ เป็นเจ้าหญิงสร้างอาณาจักรฟูนันขึ้นปกครองโดยรับอารยธรรมอินเดียไว้อย่าง แน่นแฟ้น เช่น การปกครองแบบเทวราชา เป็นต้น อาณาจักรฟูนันจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่อารยธรรมอินเดียแผ่กระจายไปทั่วเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้
 ฟูนานยั่งยืนมาถึงพุทธศตวรรษที่ 12  หลังจากนั้นชื่อของฟูนันได้หายไป มีชื่ออื่นๆเข้ามาแทนที่ในบริเวณที่เคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรฟูนัน  สันนิษฐานว่า เพราะฟูนันพ่ายแพ้ต่อรัฐเจนละ  จึงตกอยู่ใต้การปกครองของรัฐเจนละ สาเหตุแห่งความพ่ายแพ้ หรือความเสื่อมสลายนี้ มิได้มีหลักฐานแน่ชัด จากพงศาวดารราชวงศ์ถัง ซึ่งคณะทูตชาวจีนที่เดินทางไปยังดินแดนแถบฟูนาน ในต้นพุทธศตวรรษที่ 12  กล่าวเพียงว่า ได้พ่ายแพ้แก่พวกเจนละ กษัตริย์ฟูนานต้องหนีไปทางใต้ ฟูนันเป็นรัฐที่เรืองอำนาจแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถรักษาเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ เป็นที่ระลึกแก่คนรุ่นหลัง เห็นได้จากเหตุการณ์หลังจากที่รัฐเจนละเข้าครอบครองฟูนานแล้ว กษัตริย์ของเจนละทุกพระองค์ได้รับเอาเรื่องราวของราชวงศ์ฟูนันเป็นของตนด้วย และสมัยต่อมา คือ สมัยนครวัด กษัตริย์ทุกพระองค์ที่นครวัดถือว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์แห่งเมืองวยาธปุระทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่า รัฐฟูนันน่าจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยแพร่ขยายอารยธรรมอินเดียในอินโดจีน และเป็นรัฐที่เป็นรากฐานของหลายประทศในแถบลุ่ม่น้ำโขง และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน ส่วนดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงบริเวณทางตอนใต้ที่เป็นราชอาณาจักรไทยปัจจุบันยังคงมีพัฒนาการต่อเนื่อง โดยมีชื่อของอาณาจักรทวาราวดีเข้ามาแทนที่ฟูนันสืบต่อมา

เรียบเรียง โดย ดร.วีรพันธ์ พรหมมนตรี

แหล่งอ้างอิง

http://www.siamrecorder.com/h/19.htm
http://www.baanmaha.com/community/thread33159.html

ผู้ติดตาม